ผลการดำเนินงาน 2567

หมวดที่ 1  การกำหนดนโยบาย การวางแผนการดำเนินงาน และการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง

1.1 มีการกำหนดบริบทองค์กรและขอบเขตของการจัดการสิ่งแวดล้อมในสำนักงาน

        þ มีการกำหนดขอบเขตพื้นที่ของสำนักงาน

       þ มีการกำหนดขอบเขตกิจกรรมของสำนักงาน

o  ยังไม่มีการดำเนินการ

แผนปฏิบัติราชการประจำปี 2566

แผนปฏิบัติการสำนักงานสีเขียวและห้องสมุดสีเขียว ปี 2566

บันทึกข้อความที่ พิเศษ/2566 เรื่อง ขออนุมัติกำหนดขอบเขตพื้นที่และขอบเขตกิจกรรม สำนักวิทยบริการฯ

ภาพกิจกรรมBig cleaning day

ภาพกิจกรรม 5ส

1.2 นโยบายด้านสิ่งแวดล้อม

þ มีการกำหนดนโยบายด้านสิ่งแวดล้อม และลงนามโดยผู้บริหาร

þ นโยบายมีการประกาศใช้และระบุวันที่ประกาศใช้ชัดเจน

ประกาศสำนักวิทยบริการฯ เรื่อง นโยบายการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม

ประกาศสำนักฯ เรื่อง มาตรการสำนักงานสีเขียวและห้องสมุดสีเขียว

1.3 คณะทำงานหรือทีมงาน

        þ มีคำสั่งแต่งตั้งคณะทำงานหรือทีมงานด้านสิ่งแวดล้อม

þ กำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบ

þ ผู้บริหารลงนามในคำสั่งและระบุวันที่ในคำสั่งชัดเจน

– คำสั่งที่ 2020/2566 เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการอำนวยการและคณะกรรมการดำเนินงานสำนักงานสีเขียว (Green office) และห้องสมุดสีเขียว (Green Library)

1.4 การระบุประเด็นปัญหาทรัพยากร และสิ่งแวดล้อม

      มีการดำเนินงานเรื่องใดบ้าง

þ มีการรวบรวมกิจกรรมของสำนักงาน

þ ระบุประเด็นปัญหาด้านทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม

þ ระบุปัญหาสิ่งแวดล้อมทางตรงและทางอ้อม

þ ระบุปัญหาสิ่งแวดล้อมสภาวะปกติ ผิดปกติ และฉุกเฉิน

þ จัดลำดับความสำคัญของปัญหาสิ่งแวดล้อมในสำนักงาน

þ มีการจัดการกับปัญหาสิ่งแวดล้อมตามความสำคัญ

o ยังไม่เคยดำเนินการในเรื่องนี้

 – สำนักวิทยบริการฯ มีการรวบรวมกิจกรรมของสำนักงานทั้งทางตรงและทางอ้อมตามขอบเขตและบริบทของสำนักงาน

1.5 กฎหมายและข้อกำหนดอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

þ กำหนดผู้รับผิดชอบด้านกฎหมายของสำนักงาน

þ จัดทำทะเบียนกฎหมายที่เกี่ยวข้องของสำนักงาน

þ รวบรวมและทบทวนกฎหมายใหม่อยู่เสมอ

o ยังไม่เคยดำเนินการในเรื่องนี้

  สำนักวิทยบริการฯ มีการแต่งตั้งคณะกรรมการสำนักงานสีเขียวเพื่อกำหนดบทบาท หน้าที่ ความรับผิดชอบ ตามคำสั่งที่ 2020/2566 เรื่องแต่งตั้งคณะกรรมการอำนวยการและคณะกรรมการดำเนินงานสำนักงานสีเขียว (Green office) และห้องสมุดสีเขียว (Green Library) ซึ่งมอบหมายให้นางสาววิชชุดา  เขม้นดี เป็นผู้รับผิดชอบทำหน้าที่จัดทำและรวบรวมรายการกฎหมายสิ่งแวดล้อม ทั้งยังมีการประเมินความสอดคล้องของกฎหมายและมีการอ้างอิงหลักฐานการปฏิบัติตามกฎหมายอย่างครบถ้วน สำหรับในกรณีที่พบว่าการดำเนินงานไม่สอดคล้องกับกฎหมายก็มีการวิเคราะห์สาเหตุและแนวทางแก้ไข และมีการประเมินความสอดคล้องของกฎหมายอย่างต่อเนื่องทุกปี

1.6 หน่วยงานมีการกำหนดเป้าหมายและตัวชี้วัดด้านการใช้ทรัพยากร พลังงาน ของเสีย และปริมาณก๊าซเรือนกระจก ในเรื่องใดบ้าง

þ การใช้ไฟฟ้า þ การใช้น้ำมันเชื้อเพลิง

þ การใช้น้ำประปา        þ  การใช้กระดาษ

þ ปริมาณของเสีย         þ ปริมาณก๊าซเรือนกระจก

o ยังไม่เคยกำหนดเป้าหมายในเรื่องใดๆ

 ประกาศสำนักวิทยบริการฯ เรื่อง นโยบายการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม

ประกาศสำนักฯ เรื่อง มาตรการสำนักงานสีเขียวและห้องสมุดสีเขียว

หมวดที่ 2  การสื่อสารและสร้างจิตสำนึก

2.1 การอบรมหรือกิจกรรมให้ความรู้แก่พนักงานเรื่องสำนักงานสีเขียว

þ มีการกำหนดแผนและหลักสูตรการอบรมของสำนักงาน

þ มีการกำหนดหัวข้ออบรมให้ความรู้แก่พนักงาน

þ มีผู้รับผิดชอบในการอบรมในแต่ละหลักสูตร

þ มีการประเมินความรู้ก่อน – หลังการอบรม

þ มีข้อมูลประวัติวิทยากรการอบรม

o ยังไม่เคยดำเนินการในเรื่องนี้

 

  สำนักวิทยบริการฯ ได้จัดทำแผนการฝึกอบรมเพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจให้แก่บุคลากรของสำนักวิทยบริการฯ ด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม ประจำปี 2566

2.2 การรณรงค์และประชาสัมพันธ์แก่พนักงาน

      2.2.1  หน่วยงานมีการสื่อสารประชาสัมพันธ์การดำเนินงานสำนักงานสีเขียวในช่องทางใดบ้าง

þ บอร์ดประชาสัมพันธ์

þ ประกาศใน Website หรือ Facebook หน่วยงาน

þ การแจ้งเวียนหรือระบบสารบรรณ

þ กลุ่ม Line ของหน่วยงาน

þ กิจกรรม morning talk 

þ เสียงตามสาย

þ ในการประชุมของหน่วยงาน

o  อื่นๆ ระบุ……………………………………………………

 

  สำนักวิทยบริการฯ ได้จัดทำช่องทางการรับข้อเสนอแนะ/ข้อคิดเห็นด้านสิ่งแวดล้อมในรูปแบบออนไลน์จากผู้รับบริการ และนำมาปรับปรุงแก้ไข 5 ช่องทาง ได้แก่ บอร์ดประชาสัมพันธ์ ประกาศใน Website หรือ Facebook หน่วยงาน การแจ้งเวียนหรือระบบสารบรรณ กลุ่ม Line(@aritkru) ของหน่วยงาน และในการประชุมของหน่วยงาน เป็นต้น

 

2.2.2 มีการสื่อสารประชาสัมพันธ์ด้านสิ่งแวดล้อมในเรื่องใด

þ การใช้พลังงานและทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ

þ แนวทางการจัดการขยะและของเสียของหน่วยงาน

þ ความรู้เกี่ยวกับภาวะโลกร้อนและก๊าซเรือนกระจก

þ การเลือกซื้อสินค้าและบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

r ยังไม่เคยดำเนินการในเรื่องนี้

  สำนักวิทยบริการฯ ได้จัดทำสื่อสารประชาสัมพันธ์ด้านสิ่งแวดล้อม เช่น การใช้พลังงานและทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ แนวทางการจัดการขยะ ความรู้เกี่ยวกับภาวะโลกร้อนและก๊าซเรือนกระจก เป็นต้น

2.2.3 การสร้างความตระหนักและสร้างการมีส่วนร่วมของพนักงานในการดำเนินงานสำนักงานสีเขียว

þ จัดกิจกรรมประกวดร่วมสนุกรับของที่ระลึก

þ จัดกิจกรรม workshop ให้ความรู้

þ จัดกิจกรรมเดินรณรงค์สร้างความตระหนัก

r ยังไม่เคยดำเนินการในเรื่องนี้

 

   สำนักวิทยบริการฯ ได้จัดกิจกรรมส่งเสริมให้บุคลากรมีส่วนร่วมในการเข้าร่วมกิจกรรมประกวดพื้นที่รับผิดชอบภายในหน่วยงานภายใต้โครงการ 5ส เพื่อเพิ่มสภาพพื้นที่ในการปฏิบัติงานของบุคลากร นอกจากนี้ได้มีการจัดทำการประชุมเสวนาให้ความรู้ในการดำเนินงานเกี่ยวกับการส่งเสริมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม เป็นต้น

2.3 การรับข้อคิดเห็นและข้อร้องเรียนด้านสิ่งแวดล้อม

þ มีการกำหนดช่องทางรับข้อคิดเห็นและข้อร้องเรียน

þ มีการกำหนดผู้รับผิดชอบในการดำเนินการ

þ มีแนวทาง/ขั้นตอนในการจัดการข้อคิดเห็นและข้อร้องเรียน

r ยังไม่มีการดำเนินการ

 

   สำนักวิทยบริการฯ ได้มีการจัดทำช่องทางการรับฟังความคิดเห็นและข้อร้องเรียนเกี่ยวกับด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและการให้บริการของสำนัก โดยกำหนดให้นางสาวรุ่งรวี ลาภมูล หัวหน้าศูนย์วิทยาบริการเป็นผู้รับผิดชอบในการดำเนินงานพร้อมทั้งหาแนวทาง/ขั้นตอนในการแก้ไขการจัดการข้อคิดเห็นและข้อร้องเรียนพร้อมทั้งรายงานให้ผู้บริหารทราบ

หมวดที่ 3  การใช้ทรัพยากรและพลังงาน

3.1 การใช้น้ำ (ต้องมีมาตรวัดน้ำแยกชัดเจนในพื้นที่ที่ขอการรับรอง

หรือถ้าไม่มีจะต้องคำนวณปริมาณการใช้น้ำในสำนักงานได้)

3.1.1 แนวทางประหยัดน้ำของหน่วยงาน

þ มีการใช้อุปกรณ์เพื่อประหยัดน้ำ

þ มีการนำน้ำกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่

þ มีการตรวจสอบอุปกรณ์เพื่อป้องกันการรั่วไหลของน้ำ

þ มีสื่อสารสร้างความตระหนักในการใช้น้ำ

r ยังไม่เคยดำเนินการในเรื่องนี้

 

  สำนักวิทยบริการฯ ได้มีการกำหนดมาตรการการใช้น้ำให้เหมาะสมตามวัตถุประสงค์ หมั่นบำรุงรักษาตรวจสอบอุปกรณ์ต่างๆ นำน้ำที่เหลือจากการอุปโภคบริโภคกลับมาใช้ใหม่ เช่น ป้ายประชาสัมพันธ์การรณรงค์ในการประหยัดน้ำ จัดทำระบายน้ำแอร์ภายในอาคาร มีการตรวจสอบอุปกรณ์เพื่อป้องกันการรั่วไหลของน้ำอย่างสม่ำเสมอ เป็นต้น

3.1.2 การเก็บข้อมูลการใช้น้ำ

þ มีข้อมูลปริมาณการใช้น้ำรายเดือน (ม.ค.-ธ.ค.)

þ แสดงข้อมูลกราฟเปรียบเทียบการใช้น้ำปีที่ผ่านมา

r ยังไม่เคยดำเนินการในเรื่องนี้

 

  สำนักวิทยบริการฯ มีการกำหนดกิจกรรมการดำเนินงานตามเกณฑ์มาตรฐานสำนักงานสีเขียว ตั้งแต่การกำหนดมาตรการการใช้ทรัพยากรน้ำและค่าเป้าหมายการใช้พลังงานและทรัพยากร รวมถึงการเก็บข้อมูลปริมาณการใช้ทรัพยากรน้ำ การตรวจสอบอุปกรณ์น้ำ การรายงานผลการใช้ทรัพยากรน้ำและการเปรียบเทียบค่าเป้าหมายในการใช้น้ำในแผนปฏิบัติการสำนักงานสีเขียว ปี พ.ศ. 2566 มีผลการใช้น้ำตั้งแต่เดือน มกราคม – เดือน มิถุนายน โดยกำหนดให้ปี พ.ศ. 2565 (เป็นปีฐาน) ในปี พ.ศ. 2565-2566

3.1.3 มีกิจกรรมรณรงค์หรือแนวทางปฏิบัติเพื่อให้พนักงานใช้น้ำ อย่างประหยัด (ระบุกิจกรรม พร้อมภาพประกอบ)

1) ………………………………………………………………………..

2) ………………………………………………………………………..

3) ………………………………………………………………………..

r ยังไม่เคยดำเนินการในเรื่องนี้

   บุคลากรของสำนักวิทยบริการฯ การดำเนินตามมาตรการประหยัดน้ำในพื้นที่ทำงาน อย่างต่อเนื่อง เช่น การดูแลรดน้ำสนามหญ้าด้านอาคารโดยใช้อุปกรณ์ในการประหยัดน้ำ จัดซื้อชุดระบบน้ำอัตโนมัติ เป็นต้น

๓.๒ การใช้พลังงาน (ต้องมีมิเตอร์ไฟฟ้าแยกชัดเจนในพื้นที่ที่ขอการรับรอง)

3.2.1 แนวทางประหยัดไฟฟ้าของหน่วยงาน

þ  มีสื่อสารสร้างความตระหนัก เช่น ปิดไฟหรือถอดปลั๊กเมื่อไม่ใช้งาน

þ  ใช้อุปกรณ์/เทคโนโลยีประหยัดพลังงาน เช่น เปลี่ยนไปใช้หลอดไฟ LED  เครื่องใช้ไฟฟ้าประหยัดไฟเบอร์ ๕

ระบบ motion sensor ไฟส่องสว่าง

þ กำหนดเวลาในการใช้งานเครื่องใช้ไฟฟ้า เช่น

เครื่องคอมพิวเตอร์ กระติกน้ำร้อน ตู้น้ำร้อน-เย็น

þ กำหนดช่วงเวลาและอุณหภูมิในการใช้งานเครื่องปรับอากาศ

þ มีการใช้พลังงานทดแทน Solar cell

r ยังไม่เคยดำเนินการในเรื่องนี้

  บุคลากรของสำนักวิทยบริการฯ การดำเนินตามมาตรการประหยัดไฟฟ้าในพื้นที่ทำงาน อย่างต่อเนื่อง โดยการสร้างสื่อประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างความตระหนักในการประหยัดไฟฟ้า เช่น ปิดไฟหรือถอดปลั๊กเมื่อไม่ใช้งาน เปลี่ยนไปใช้หลอดไฟ LED  เครื่องใช้ไฟฟ้าประหยัดไฟเบอร์ ๕  และมีการใช้พลังงานทดแทน Solar cell เป็นต้น

 

3.2.2 การเก็บข้อมูลการใช้ไฟฟ้า

þ มีข้อมูลปริมาณการใช้ไฟฟ้ารายเดือน (ม.ค.-ธ.ค.)

þ แสดงข้อมูลกราฟเปรียบเทียบการใช้ไฟฟ้าปีที่ผ่านมา

r ยังไม่เคยดำเนินการในเรื่องนี้

    สำนักวิทยบริการฯ ดำเนินการเก็บข้อมูลการใช้พลังงานเป็นประจำอย่างต่อเนื่อง เพื่อพิจารณาปริมาณการใช้พลังงานดังกล่าว และจะต้องควบคุมหน่วยงานภายนอกที่เข้ามาใช้พื้นที่ให้ปฏิบัติตามมาตรการของสำนักวิทยบริการฯ พร้อมทั้งมีการมอบหมายให้บุคลากรนายนภัทร ยิ่งมี ผู้ปฏิบัติงานบริหารงานทั่วไปจดบันทึกข้อมูลปริมาณการใช้ไฟฟ้าแต่ละเดือน และรวบรวมจัดทำเป็นสถิติแต่ละปีรวมถึงการเก็บข้อมูลปริมาณการใช้ไฟฟ้าต่อหน่วยเพื่อให้ทราบถึงสถานการณ์และปริมาณการใช้ไฟฟ้าของสำนักวิทยบริการฯ

3.2.3 มีกิจกรรมรณรงค์หรือแนวทางปฏิบัติเพื่อให้พนักงานใช้ไฟฟ้าอย่างประหยัด (ระบุกิจกรรม พร้อมภาพประกอบ)

1) ………………………………………………………………………….

2) ………………………………………………………………………….

3) ………………………………………………………………………….

r ยังไม่เคยดำเนินการในเรื่องนี้

  สำนักวิทยบริการฯ มีการใช้พลังงานหลายชนิด ทั้งในรูปแบบของพลังงานไฟฟ้าและการใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆ ภายในสำนักงานแต่จะมีปริมาณการใช้พลังงานดังกล่าวมากหรือน้อยนั้นขึ้นอยู่กับองค์ประกอบหลายปัจจัยรวมถึงลักษณะของกิจกรรมต่างๆ ดังนั้นสำนักวิทยบริการฯ จึงต้องกำหนดมาตรการในการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ ได้แก่ การบำรุงรักษาเครื่องใช้ไฟฟ้า การกำหนดเวลาเปิด-ปิด การติดป้ายรณรงค์และให้ความรู้ด้านการอนุรักษ์พลังงานแก่บุคลากรและผู้ใช้บริการ รวมถึงการเลือกใช้อุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ได้มาตรฐานและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เป็นต้น

3.2.4 แนวทางประหยัดน้ำมันเชื้อเพลิงของหน่วยงาน

þ มีการวางแผนการเดินทาง ทางเดียวกันไปด้วยกัน

þ การเดินทางโดยเลือกเส้นทางที่ใกล้ที่สุด

q มีการซ่อมบำรุงดูแลยานพาหนะของสำนักงาน

þ การเข้าร่วมประชุมผ่านระบบออนไลน์เพื่อลดการเดินทาง

r ยังไม่เคยดำเนินการในเรื่องนี้

   สำนักวิทยบริการฯ ได้กำหนดมาตรการการประหยัดน้ำมันเชื้อเพลิง ดังนี้

   1.ให้ความรู้เรื่องการประหยัดเชื้อเพลิง รวมทั้งสร้างจิตสำนึกในการประหยัดเชื้อเพลิงและรณรงค์ ประชาสัมพันธ์

   2. ลดการใช้พาหนะส่วนตัว หากไปในทางเดียวกันหรือเลาใกล้เคียงกันควรใช้พาหนะร่วมกัน โดยกำหนดเส้นทางและวางแผนการเดินทางก่อนทุกครั้ง

     3. การติดต่อประสานงานภายในมหาวิทยาลัย ให้ใช้รถไฟฟ้าในการเดินทางหรือเดินในกรณีที่ระยะทางไม่ไกล มากนัก

     4. การเดินทางไปราชการคนเดียว ให้เดินทางโดยรถโดยสารประจำทาง

     5. การเดินทางไปราชการเป็นหมู่คณะ ให้ใช้รถราชการ

    6. ขับรถไม่เกินความเร็วสูงสุดที่กฎหมายกำหนดไว้

     7. จัดทำทะเบียนคุมการใช้รถยนต์และทำสถิติการใช้ปริมาณน้ำมันเชื้อเพลิงของรถยนต์ทุกเดือน

3.2.5 การเก็บข้อมูลการใช้น้ำมันเชื้อเพลิง

þ มีข้อมูลปริมาณการใช้น้ำมันเชื้อเพลิง (ม.ค.-ธ.ค.)

þ แสดงข้อมูลกราฟเปรียบเทียบการใช้น้ำมันเชื้อเพลิง    

     ปีที่ผ่านมา

r ยังไม่เคยดำเนินการในเรื่องนี้

     สำนักวิทยบริการฯ มีการเก็บข้อมูลการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงทุกเดือนและข้อมูลปริมาณการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงต่อหน่วย ในปี พ.ศ. 2566

3.2.6 มีกิจกรรมรณรงค์หรือแนวทางปฏิบัติเพื่อให้พนักงานใช้น้ำมันเชื้อเพลิงอย่างประหยัด (ระบุกิจกรรม พร้อมภาพประกอบ)

1) ………………………………………………………………………..

2) ………………………………………………………………………..

3) ………………………………………………………………………..

q ยังไม่เคยดำเนินการในเรื่องนี้

    สำนักวิทยบริการฯ ได้ปฏิบัติตามมาตรการหรือแนวทางการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงในการเดินทางที่เหมาะสมกับสำนักงาน โดยการเดินทางไปราชการคนเดียว ให้เดินทางโดยรถโดยสารประจำทางการหรือเดินทางไปราชการเป็นหมู่คณะ ให้ใช้รถราชการและทางเดียวกันไปด้วยกัน      สำนักวิทยบริการฯ ได้ดำเนินมาตการหรือแนวทางการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงในการเดินทางที่เหมาะสมกับสำนักงาน โดยการใช้จักรยานในการเดินทาง รับส่งเอกสารภายในมหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี การใช้รถยนต์ไฟฟ้าในการเดินทางรับส่งเอกสารและติดต่อหน่วยงานต่างๆ ภายในมหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัย

๓.๓ การใช้กระดาษและอุปกรณ์สำนักงาน

3.3.1 แนวทางประหยัดกระดาษและวัสดุอุปกรณ์ในสำนักงาน   มีการดำเนินการเรื่องใด

þ มีการกำหนดมาตรการในการเบิกกระดาษ/อุปกรณ์ต่างๆ

þ ลดใช้กระดาษ โดยส่งเอกสารในรูปแบบ digital file  หรือ QR CODE

  þ มีการใช้กระดาษ REUSE หรือการนำกระดาษกลับมาใช้ใหม่

þ มีการตรวจสอบความถูกต้องของเอกสารก่อนพิมพ์

þ มีการบำรุงรักษาเครื่องถ่ายเอกสารหรือเครื่องพิมพ์

ให้อยู่ในสภาพดีเพื่อลดการสูญเสียกระดาษ

þ มีจุดวางอุปกรณ์สำนักงานสำหรับใช้งานร่วมกัน

q ยังไม่เคยดำเนินการในเรื่องนี้

     สำนักวิทยบริการฯ มีการจัดเก็บข้อมูลการใช้ทรัพยากรกระดาษตั้งแต่ปี พ.ศ. 2562-2566 อย่างต่อเนื่อง โดยมอบหมายให้นางสาวขวัญเรือน วงศ์ศรีสงข์ เป็นผู้รับผิดชอบในการจัดเก็บ รวบรวมและรายงานผลข้อมูลการใช้กระดาษตามโดยทำหน้าที่จัดเก็บข้อมูลปริมาณการใช้กระดาษแต่ละเดือนและรายปี ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2562-2566 ผลการเก็บรวบรวมในปี พ.ศ. 2566 บรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้คือ ปริมาณการใช้กระดาษลดลงร้อยละ 15

3.3.2 การเก็บข้อมูลการใช้กระดาษของสำนักงาน

þ มีข้อมูลปริมาณการใช้กระดาษ (ม.ค.-ธ.ค.)

þ แสดงข้อมูลกราฟเปรียบเทียบการใช้กระดาษ

    ปีที่ผ่านมา

q ยังไม่เคยดำเนินการในเรื่องนี้

     สำนักวิทยบริการฯ มีการเก็บข้อมูลการใช้กระดาษทุกเดือนเพื่อนำมาใช้วิเคราะห์และเปรียบเทียบปริมาณการใช้กระดาษประจำปี พ.ศ. 2566

3.3.3 มีกิจกรรมรณรงค์หรือแนวทางปฏิบัติเพื่อให้พนักงานใช้กระดาษหรือวัสดุอุปกรณ์สำนักงาน อย่างประหยัด (ระบุกิจกรรม พร้อมภาพประกอบ)

1) ………………………………………………………………………..

2) ………………………………………………………………………..

3) ………………………………………………………………………..

q ยังไม่เคยดำเนินการในเรื่องนี้

    สำนักวิทยบริการฯ  มีการจัดกิจกรรมรณรงค์หรือแนวทางปฏิบัติเพื่อให้พนักงานใช้กระดาษหรือวัสดุอุปกรณ์สำนักงาน เช่น

     1. มีการรณรงค์และสื่อสารประชาสัมพันธ์ทั้งภายในและภายนอกหน่วยงานให้ลดการใช้กระดาษ

      2. การสื่อสารให้กับหน่วยงานภายนอกในการขอความร่วมมือลดการใช้กระดาษหรือการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์แทน และรับทราบว่าสำนักวิทยบริการฯ มุ่งส่งเสริมแนวทางการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม

        3. บุคลากรภายในมีการสื่อสารหรือส่งเอกสารแบบ paperless โดยสามารถลดการใช้กระดาษได้ 100% หรือหากต้องใช้กระดาษให้มีการตรวจสอบเอกสารก่อนสั่งพิมพ์ รวมถึงการตรวจสอบเครื่องถ่ายเอกสารให้มีความพร้อมใช้งาน

๓.๔ การจัดประชุมและการจัดนิทรรศการของสำนักงาน มีการดำเนินการเรื่องใด

þ มีการกำหนดแนวทางปฏิบัติในการใช้ห้องประชุม

þ มีการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ในการเชิญประชุม ส่งเอกสารการประชุม รายงานการประชุม เช่น QR code, Email, Intranet

þ การกำหนดขนาดห้องประชุมเหมาะสมกับจำนวนผู้ประชุม

þ จัดเตรียมอาหาร และเครื่องดื่มที่ลดบรรจุภัณฑ์ในการห่ออาหาร ลดพลาสติก ลดปริมาณขยะที่เกิดขึ้น

þ มีการนำแก้วน้ำส่วนตัวมาใช้ในการประชุม

þ อาหารว่างและเครื่องดื่ม เน้นการบริการตนเอง

þ ห้องประชุมหรือพื้นที่จัดนิทรรศการไม่มีการตกแต่งด้วย

     วัสดุที่ย่อยสลายยาก หรือวัสดุที่ใช้ครั้งเดียวแล้วทิ้ง

þ มีการประชุมแบบออนไลน์เพื่อลดการใช้พลังงานและทรัพยากร

r ยังไม่เคยดำเนินการในเรื่องนี้

 

    สำนักวิทยบริการฯ มีการจัดประชุมและการจัดนิทรรศการของสำนักงาน เช่น มีแนวปฏิบัติในการใช้ห้องประชุม มีการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ในการเชิญประชุม ส่งเอกสารการประชุม รายงานการประชุม เช่น QR code, Email, Intranet มีจัดเตรียมอาหาร และเครื่องดื่มที่ลดบรรจุภัณฑ์ในการห่ออาหาร ลดพลาสติก ลดปริมาณขยะที่เกิดขึ้น เป็นต้น

 

หมวดที่ ๔ การจัดการของเสีย

 

๔.๑ การจัดการของเสีย

4.1.1 การจัดการขยะในหน่วยงาน

r มีการคัดแยกขยะตามประเภทขยะที่เกิดขึ้น

r ติดป้ายบ่งชี้ขยะแต่ละประเภทอย่างถูกต้อง

r มีการบันทึกข้อมูลปริมาณขยะแต่ละประเภททุกเดือน

r มีจุดพักขยะของหน่วยงาน

r มีการจัดทำเส้นทางการจัดการขยะแต่ละประเภทในสำนักงาน

r มีการตรวจสอบการทิ้งขยะที่ถูกต้องในแต่ละจุด

r มีการส่งขยะให้ อปท. หรือผู้รับจ้างที่ได้รับอนุญาตตามกฎหมาย

r ยังไม่เคยดำเนินการในเรื่องนี้

 

    สำนักวิทยบริการฯ มีการดำเนินงาน ตามแนวทางการคัดแยก รวบรวม และกำจัดขยะอย่าง เหมาะสม โดยการแบ่งประเภทของขยะออกเป็น 4 ประเภท ได้แก่ 1.ขยะทั่วไป 2. ขยะรีไซเคิล 3. ขยะอันตราย 4. ขยะอินทรีย์/ ย่อยสลายได้/เปียก พร้อมทั้งมีการแสดงชัดเจนในการแบ่งตาม สัญลักษณ์ สีของถังขยะ และป้ายแสดงให้เห็น ตัวอย่างของขยะแต่ละประเภทและได้จัดทำป้ายบ่งชี้ประเภทขยะอย่างถูกต้องและชัดเจนทุกถัง เพื่อให้ง่ายต่อการจัดเก็บ และนำไปจัดการอย่างเหมาะสม

4.1.2 การรณรงค์ สร้างความตระหนัก เพื่อลดปริมาณขยะ

r การรณรงค์ลดใช้โฟม หรือเป็นองค์กรปลอดโฟม

r การใช้ถุงผ้าแทนการใช้ถุงพลาสติกในการซื้อของจากร้านค้า หรือมีจุดบริการยืม-คืนถุงผ้า ให้กับบุคลากร

r การรณรงค์ใช้แก้วน้ำส่วนตัวแทนการใช้แก้วน้ำจากร้านค้า

r การใช้กล่องใส่อาหารส่วนตัวแทนการใช้บรรจุภัณฑ์จากร้านค้า

r ยังไม่เคยดำเนินการในเรื่องนี้

 

  สำนักวิทยบริการฯ ได้มีการรณรงค์ในการลดปริมาณการใช้โฟมในการจัดกิจกรรมของสำนัก นอกจากนี้ยังได้มีการรณรงค์ใช้ถุงผ้านแทนถุงพลาสติกในการยืม-คืนหนังสือ เพื่อลดปริมาณขยะ

 ส่วนการดำเนินการประชาสัมพันธ์การมีส่วนร่วมในการรณรงค์การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของร้านค้าไม่มีร้านค้าอยู่ภายในอาคาร

4.1.3 มีกิจกรรมรณรงค์ สร้างความตระหนัก แนวทางการจัดการขยะในสำนักงาน หรือการลดขยะของหน่วยงาน (นอกเหนือจากข้อ 4.1.2)  (ระบุกิจกรรมและภาพประกอบ)

1) ………………………………………………………………………..

2) ………………………………………………………………………..

3) ………………………………………………………………………..

r ยังไม่เคยดำเนินการในเรื่องนี้

  สำนักวิทยบริการฯ ได้มีการจัดเก็บคัดแยกขยะ และนำขยะบางประเภทกลับมาใช้ประโยชน์ และนำกลับมาใช้ใหม่ ส่งผลให้ขยะที่จะส่งไปกำจัดมีปริมาณ น้อยลง ดังนี้

       1. นำเศษอาหารจากการรับประทานอาหารของเจ้าหน้าที่ มาทำปุ๋ยหมักเพื่อใช้ปลูกพืชผักสวนครัว ในพื้นที่ด้านหลังข้างอาคาร

        2. นำขวดและฝาพลาสติกมาประดิษฐ์เป็นแจกันใส่ต้นไม้ตามจุดต่าง ๆ เพื่อเพิ่ม บรรยากาศให้ดูเป็นธรรมชาติ สวยงามและดูดซับสารพิษได้

        3. การรณรงค์ให้บริการยืมถุงผ้าเพื่อใส่ทรัพยากรสารสนเทศแทนถุงพลาสติก

๔.๒ การจัดการน้ำเสีย

(เลือกข้อใดข้อหนึ่ง 4.2.1 หรือ 4.2.2 ตามขนาดของหน่วยงาน)

4.2.1 กรณีอาคารหน่วยงานมีขนาดน้อยกว่า 5,000 ตร.ม.

r กำหนดผู้รับผิดชอบในการดูแลจัดการน้ำเสียของหน่วยงาน

r มีถังดักไขมันบริเวณจุดล้างภาชนะทุกจุด

r มีการดูแลทำความสะอาดถังดักไขมัน

r มีการตรวจสอบสภาพความพร้อมใช้งานของถังดักไขมัน

r ยังไม่เคยดำเนินการในเรื่องนี้

 

 

4.2.2 อาคารหน่วยงานมีขนาดมากกว่า 5,000 ตร.ม.

r กำหนดผู้รับผิดชอบในการดูแลจัดการน้ำเสียของหน่วยงาน

r มีถังดักไขมันบริเวณจุดล้างภาชนะทุกจุด

r มีการดูแลทำความสะอาดถังดักไขมัน

r มีการตรวจสอบสภาพความพร้อมใช้งานของถังดักไขมัน

 และมีผลการตรวจวัดคุณภาพน้ำทิ้ง (กรณีพื้นที่ใช้สอย 

 ของอาคารมากกว่า ๕,๐๐๐ ตร.ม.)

r ยังไม่เคยดำเนินการในเรื่องนี้

 

     สำนักวิทยบริการฯ ได้รับการรดูแลระบบบำบัดน้ำเสียโดยมหาวิทยาลัยเป็นผู้รับผิดชอบในการควบคุมดูแลจัดการระบบน้ำเสีย นอกจากนี้สำนักได้มีการติดตั้งถังดักไขมันเพื่อดักกรองไขมันและเศษอาหาร ลดกลิ่นที่เกิดจากหมักหมมของเศษอาหารในท่อน้ำ ตลอดจนเพื่อปรับคุณภาพน้ำทิ้งให้มีคุณภาพดีขึ้น เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยติดตั้งไว้ 6 จุดบริเวณที่ที่บุคลากรรับประทานอาหาร   โดยมีการกำหนดให้ผู้ปฏิบัติงานบริการ (แม่บ้าน) ทำความสะอาดทุกวันจันทร์ พุธ ศุกร์ นอกจากนี้ยังมีแนวทางการดูแลและจัดการถังดักไขมัน พร้อมกับให้แม่บ้านได้บันทึกการตักไขมัน ตามแบบฟอร์มที่กำหนด

หมวดที่ ๕ สภาพแวดล้อมและความปลอดภัย

 

๕.๑ การจัดการคุณภาพอากาศหรือฝุ่นภายในหน่วยงาน

r มีการจัดทำแผน/ความถี่/ผู้รับผิดชอบในการป้องกัน ควบคุม ดูแลคุณภาพอากาศ

r มีการดูแลทำความสะอาดเครื่องปรับอากาศประจำปี

r มีการดูแลทำความสะอาดม่าน/มู่ลี่/พรม

r มีการป้องกันดูแลฝุ่นผงหมึกจากเครื่องพิมพ์/เครื่องถ่ายเอกสาร

r มีการป้องกันควบคุมควันจากการสูบบุหรี่

r มีการป้องกันควบคุมควันจากไอเสียรถยนต์

r ยังไม่เคยดำเนินการในเรื่องนี้

    สำนักวิทยบริการฯ ได้จัดทำแผนและกำหนดผู้รับผิดชอบในการดูแลรักษาเครื่องปรับอากาศ เครื่องถ่ายเอกสาร เครื่องปริ้นเตอร์ และพรมปูพื้น  เพื่อการควบคุม ดูแลป้องกันมลพิษทางอากาศของสำนักงาน โดยผู้รับผิดชอบได้ปฏิบัติตามแผนการดูแลรักษา เครื่องปรับอากาศ  เครื่องถ่ายเอกสาร เครื่องปริ้นเตอร์  พรมปูพื้น และผ้าม่าน

 

มีการควบคุมมลพิษทางอากาศจากการปฏิบัติในข้อ 1  โดยจัดทำประกาศมาตรการและแนวปฏิบัติด้านการจัดการพลังงานและสิ่งแวดล้อม

๕.๒ แสงสว่างในสำนักงาน

r มีการตรวจวัดความเข้มของแสงสว่างในสำนักงาน

r เครื่องมือที่ใช้ในการตรวจวัดได้รับการสอบเทียบ

r มีผลการตรวจวัดความเข้มของแสงสว่าง

r แสดงการตรวจวัดความเข้มของแสงสว่างโดยผู้ที่ใช้เครื่องมือได้

r ยังไม่เคยดำเนินการในเรื่องนี้

   สำนักวิทยบริการฯ มีการตรวจวัดความเข้มของแสงสว่าง โดยมีมาตราการควบคุมแสงภายในอาคาร ตามมาตราการและแนวปฏิบัติด้านการจัดการพลังงานและสิ่งแวดล้อม ข้อที่ 6 มาตราการด้านการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานทางการยภาพ ข้อย่อยที่ 6.3 มาตรการด้านการควบคุมแสงภายในอาคาร โดยมีมาตราการในการวัดค่าแสงดังนี้

         1. ใช้อุปกรณ์ส่องสว่างที่มีประสิทธิภาพและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

         2. ตรวจวัดความเข้มข้นของแสงทุกปี

         3. การตรวจวัดแสงเป็นไปตามเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด

         4.ใช้แสงสว่างจากธรรมชาติ

         5. ทำความสะอาดหลอดไฟปีละ 2 ครั้ง

      ทั้งนี้สำนักวิทยบริการฯ ได้ดำเนินการตรวจวัดความเข้มของแสงสว่างอย่างสม่ำเสมอ

๕.๓ เสียงในสำนักงาน

r มีรายละเอียดกิจกรรมในสำนักงานที่อาจจะเกิดเสียงดัง

r มีมาตรการ/แนวทางควบคุมเสียงดังที่เกิดขึ้นในสำนักงาน

r ยังไม่เคยดำเนินการในเรื่องนี้

 

    สำนักวิทยบริการฯ มีการควบคุมมลพิษทางเสียงในอาคาร ตามกฎหมายสาธารณสุข (หมวด 5 เหตุรำคาญ)  พ.ศ. 2535  ปรับปรุงอาคารหรืออื่น ๆในสำนักงานที่ส่งผลกระทบต่อบุคลากรและผู้ใช้บริการและกำหนดมาตรการรองรับเพื่อจัดการเสียงดังที่มาจากภายนอกสำนักงาน ตามประกาศของสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ  

         ปี พ.ศ 2566 สำนักวิทยบริการฯ ไม่มีการก่อสร้าง ปรับปรุงอาคารหรืออื่นๆ ในสำนักงานที่ส่งผลต่อบุคลากรและผู้ใช้บริการ

๕.๔ ความน่าอยู่

r มีการจัดทำผังภายในและภายนอกของสำนักงาน

r มีการกำหนดพื้นที่ชัดเจนเป็นสัดส่วน เช่น พื้นที่ปฏิบัติงาน พื้นที่พักผ่อน พื้นที่รับประทานอาหาร บริเวณจอดรถ

r มีการกำหนดผู้รับผิดชอบดูแลในแต่ละพื้นที่

r มีกิจกรรมทำความสะอาดประจำปี Big cleaning Day

r มีความสะอาดและเป็นระเบียบในสำนักงาน/โต๊ะปฏิบัติงาน

r มีพื้นที่สีเขียวในสำนักงานหรือบริเวณรอบสำนักงาน

r การตรวจสอบสัตว์พาหะนำเชื้อโรคในสำนักงาน   r ไม่เคย

o  ไม่พบสัตว์พาหะนำเชื้อ

o  พบสัตว์พาหะนำเชื้อ เช่น หนู นกพิราบ แมลงสาบ

r ยังไม่เคยดำเนินการในเรื่องนี้

 

    สำนักวิทยบริการฯ มีแผนผังทั้งภายในอาคารและนอกอาคารโดยกำหนดพื้นพื้นที่ใช้งานอย่างชัดเจนได้แก่

     1. พื้นที่สีเขียว

     2. พื้นที่ปฏิบัติงานและบริการส่วนรวม

     3. พื้นที่พักผ่อนหย่อนใจ

โดยกำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบและดูแลพื้นที่ทั้งภายในและภายนอกอาคารและกำหนดตารางการปฏิบัติงานของแม่บ้านที่รับผิดชอบแต่ละพื้นที่ใช้งานอย่างชัดเจน มีการกำหนดเวลาในการดูแลรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อย ทั้ง 3 พื้นที่ ได้แก่ พื้นที่สีเขียว พื้นที่พักผ่อนหย่อนใจ และพื้นที่ปฏิบัติงานส่วนรวม ซึ่งจะมีการตรวจสอบการปฏิบัติงานของผู้ปฏิบัติงานบริการทุกวันเพื่อประเมินความสะอาด และตรวจสอบอุปกรณ์ที่ชำรุด ทั้งนี้ได้มีแผนการดำเนินงาน 5 และมีการประเมิน 5ส เดือนละ 2 ครั้ง  

๕.๕ การเตรียมพร้อมต่อสภาวะฉุกเฉิน

r มีการจัดอบรมแผนฉุกเฉินและซ้อมอพยพหนีไฟประจำปี

r มีภาพประกอบการอบรมและซ้อมอพยพหนีไฟ 

r มีการกำหนดเส้นทางหนีไฟ/ธงนำทางหนีไฟของอาคาร

r มีจุดรวมพลของหน่วยงาน

r มีแผนระงับเหตุฉุกเฉินที่เป็นปัจจุบันของหน่วยงาน

r มี checklist ตรวจสอบความพร้อมใช้งานของอุปกรณ์ดับเพลิง

r อุปกรณ์ดับเพลิงอยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน

r ยังไม่เคยดำเนินการในเรื่องนี้

 

      สำนักวิทยบริการฯ มีการจัดแผนฝึกอบรมประจำปี 2566 เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับระงับเหตุฉุกเฉินต่างๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นดังนี้

          1. การดับเพลิงเบื้องต้น

2. การซ้อมอพยพหนีไฟ

       โดยได้มีการจัดอบรม “การดับเพลิงเบื้องต้นและการซ้อมอพยพหนีไฟ” ในวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2566 มีจำนวนบุคลากรสำนักวิทยบริการฯ เข้าร่วมอบรมจำนวน 24 คน คิดเป็นร้อยละ 100 ของจำนวนบุคลากร และบุคลากรของสำนักวิทยบริการฯ ได้มีการฝึกซ้อมอพยพหนีไฟจำนวน 1 ครั้ง

       สำนักวิทยบริการฯ ได้ดำเนินการจัดอบรม “การดับเพลิงเบื้องต้นและการซ้อมอพยพหนีไฟ” ให้กับบุคลากรตามแผนที่กำหนด ซึ่งการจัดอบรมดังกล่าวมีการวัดผลการอบรมพบว่าบุคลากรมีความรู้ความเข้าใจก่อนการอบรมคิดเป็นร้อยละ 50 และหลังการอบรมมีความรู้ความเข้าใจคิดเป็นร้อยละ 88.33

        สำนักวิทยบริการฯ ได้กำหนดจุดรวมพล 1 จุดไว้บริเวณด้านหน้าอาคารสำนักวิทยบริการฯ โดยมีพื้นที่สามารถรองรับมีป้ายแสดงอย่างชัดเจน

        สำนักวิทยบริการฯ ได้กำหนดแผนผังจุดติดตั้งถังดับเพลิง เส้นทางหนีไฟ ภายในอาคารเพื่อสื่อสารให้ผู้มาใช้บริการทราบ และกำหนดทางออกฉุกเฉินพร้อมจัดทำป้ายสัญลักษณ์แสดงเส้นทางออกฉุกเฉินให้เห็นชัดเจน

หมวดที่ ๖ การจัดซื้อและจัดจ้าง

๖.๑ การจัดซื้อสินค้า

r มีการกำหนดผู้รับผิดชอบในการจัดซื้อสินค้าในสำนักงาน

r มีข้อมูลฉลากสิ่งแวดล้อม พร้อมหน่วยงานที่ให้การรับรอง

r มีการจัดทำบัญชีรายการสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

r มีการจัดซื้อสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมในสำนักงาน

r ยังไม่เคยดำเนินการในเรื่องนี้

 

     สำนักวิทยบริการฯ มีการกำหนดให้ นางสาวจริญญา เสนาบุตร นักบริหารงานทั่วไป เป็นผู้รับผิดชอบในการจัดซื้อจัดจ้าง โดยเป็นผู้ที่มีความรู้ ความเข้าใจในการจัดซื้อจ้างสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ตามคำสั่งสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศที่ 2020/2566 เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการสำนักงานสีเขียว ประจำปี 2566 นอกจากนี้สำนักวิทยบริการฯ ได้จัดทำประกาศสำนักวิทยบริการฯ เรื่องมาตรการและแนวปฏิบัติด้านการจัดการพลังงานและสิ่งแวดล้อม และมาตรการจัดซื้อจัดจ้างที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพื่อใช้เป็นแนวทางการจัดซื้อจัดจ้างสินค้า

           การจัดซื้อสินค้าจะศึกษาเกี่ยวกับฉลากที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมหรือศึกษาจากฐานข้อมูลที่เป็นมิตรสิ่งแวดล้อม โดยจะดำเนินการจัดทำบัญชีรายชื่อสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมที่สำนักวิทยบริการฯ จัดซื้อไว้จริง รายละเอียดจะประกอบด้วยรายการสินค้า ยี่ห้อ ฉลากสิ่งแวดล้อม วันหมดอายุ และวันที่ทบทวน เป็นต้น

          ทั้งนี้ ในการจัดซื้อสินค้าเพื่อให้บริการภายในสำนักฯ จะดำเนินการทำหนังสือราชการไปยังร้านค้า/ผู้ขาย เพื่อขอความร่วมมือจัดหาสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมให้กับสำนักวิทยบริการ

๖.๒ การจัดจ้าง

r มีการจัดทำขอบเขตงานจ้าง (TOR) หรือข้อตกลงการปฏิบัติงาน

ของผู้รับจ้าง

r มีการชี้แจงหรืออบรมให้ผู้รับจ้างทราบถึงการเข้ามาปฏิบัติงาน

และความรู้เกี่ยวด้านสิ่งแวดล้อม/สำนักงานสีเขียว

r มีการตรวจสอบหรือ checklist การปฏิบัติงานของผู้รับจ้าง

เช่น การทำความสะอาดห้องน้ำ

r มีการตรวจสอบ/ประเมินการปฏิบัติงานของผู้รับจ้างรายเดือน

r ยังไม่เคยดำเนินการในเรื่องนี้

 

มหาวิทยาลัยเป็นผู้ดำเนินการจัดทำขอบเขตการจ้างงานของบริษัททำความสะอาดทั้งมหาวิทยาลัย นอกจากนี้จะมีการจัดทำสัญญาหรือข้อตกลงด้านสิ่งแวดล้อมเมื่อเข้ามาปฏิบัติงานภายในสำนักวิทยบริการฯ และเพื่อให้ผู้ประกอบการมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสำนักงานสีเขียว จะมีการอธิบายทำความเข้าใจให้กับหน่วยงาน/ผู้รับจ้างได้ปฏิบัติตามข้อตกลงของสำนักฯ เพื่อให้ใช้วัสดุอุปกรณ์/สินค้า ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

6.3 การเลือกใช้บริการโรงแรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

r มีการค้นหาโรงแรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมในพื้นที่

r มีการแนวทางคัดเลือกสถานที่จัดประชุมภายนอกสำนักงาน

r ยังไม่เคยดำเนินการในเรื่องนี้

 

     สำนักวิทยบริการฯ ได้จัดทำแนวปฏิบัติการใช้บริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม กรณีไปใช้บริการนอกสำนักงาน และแนวปฏิบัติที่หน่วยงานอื่นๆ มาใช้บริการของสำนักฯ เพื่อขอความร่วมมือให้ใช้วัสดุที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม คำนึงถึงการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและพลังงาน ลดการก่อให้เกิดมลพิษ นอกจากนี้สำนักฯ ได้ดำเนินการรวบรวมรายชื่อโรงแรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเพื่อใช้เป็นแนวทางในการใช้บริการ